ทำไม จะต้องเสียตัง ทำประชาสัมพันธ์ ทั้งๆ เรามี Social อยู่ในมือ

Last updated: 2 Oct 2017  |  2450 Views  | 

ทำไม เวป Alibaba ถึงเป็นเวปที่ใหญ่และรวยที่สุดในจีน

Alibaba.com เป็นเว็บไซต์สัญชาติจีน ก่อตั้งโดย แจ็ค หม่า หรือ หม่าหยุน ซึ่งอาลีบาบามีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับอย่างมากสำหรับโรงงานในประเทศจีนที่ต้องการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ โดยอาลีบาบา เป็นตัวละครในนิทานอาหรับซึ่งแจ็ค หม่า ให้เหตุผลในการตั้งชื่อนี้ว่า เป็นชื่อที่เรียกง่ายและจดจำได้ง่ายนั่นเองโดยปัจจุบันAlibaba.com ถือเป็นเว็บไซต์ B2B(Business to Business) เว็บไซต์ขายส่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยอาลีบาบาเน้นให้บริการบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลาง โดยส่งเสริมการทำ E-commerce อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งอาลีบาบาได้เข้าตลาดหุ้นฮ่องกงในปี 1997 และประกาศตัวเป็นเว็บไซต์ขายส่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ทำไม ต้องเสียตังค์ ประชาสัมพันธ์ ธุรกิจ ทั้ง ๆ ที่เรามี Social ฟรี ๆ อีกมากมาย
โพสฟรี ลงประกาศฟรี โปรโมทฟรี โฆษณาฟรี ฝากร้านค้าฟรี แลกไลค์ฟรี (ประมาณนี้)มันไม่มีประสิทธิภาพ หรือ ไม่มีเวลากันแน่

เหมือนเดิม เข้มข้น เหมือนรสชาดกาแฟ ตอนเช้า กับ ท้องว่างๆ ผมพยายาม และวิเคราะห์ดูแล้วว่า การลงโฆษณา ประชาสัมพันธ์ สำหรับธุรกิจ Start UP Company หรือ SME

เนื่องจาก เราไม่ใช่ บริษัทฯ ใหญ่โต (มีชื่อเสียงอะไรมากมาย) การลงทุน กับ Social Media หรือ โฆษณา นั้น ผมคิดว่า เรากำลังใช้เวลาทุ่มเท กับงานประจำหรืองานหลักของเรา หายไปวันล่ะ 1-2 ชม ในการเอาข้อมูล หรือ นำข้อมูล ไปให้กับบริษัทฯ (รับจ้างโฆษณา) เพื่อโปรโมทและประชาสัมพันธ์

ผมแนะนำ ด้วยวิธี ของผมแบบนี้ครับ

1. สร้าง เวปไซต์ (จากเวป สำเร็จรูปต่าง ๆ) เบื้องต้น ถ้ายังทำไม่เป็น จำเป็นต้องให้ทางบริษัทฯ (ผู้ออกแบบเวปไซต์) เขาเป็นคนจัดทำให้ แต่ค่าใช้จ่ายในเบื้องต้นจะสูงหน่อย แต่ถ้าหวังผลระยะยาว คุ้มทีเดียว (หลังจากนั้นค่อยๆ ศึกษาแล้วทำกับมันด้วยตัวเราเอง)
กำหนดขอบเขต และ เนื้อหา ที่จะนำเสนอให้ครบ
คำถาม : อะไรคือ “ขอบเขต” อะไรคือ “เนื้อหา”คำตอบ : เวปไซต์ ก็เหมือนร้านค้า (ถ้าเราจะจัดร้านค้าเหมือนโชห่วย คำตอบก็คือ โชห่วย) และถ้าเราจะจัดร้านให้เหมือน (7-11) นั่นคือ มีรูปแบบ ที่เราเรียกว่า Business Model
2. สร้าง Facebook หรือ Fanpage (ฟรี) จาก Account ตัวเราเอง (ข้อแม้ ข้อห้าม)Official Page (ไม่ใช่ Page) ไว้ลงเรื่อง สัพเพเหระ เช่น ลงรูปเพื่อน กอดหมา ลงรูปอาหารจานเด็ด (เพื่อเรียกน้ำลาย แลกกับการกดไลน์เยอะๆ) หรือ รูป ช่วง ช่วง หลินหุ้ย ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
3. สร้าง ID Line เพื่อง่ายต่อการเจรจา ต่อรอง และ เป็นหลักฐาน ชิ้นสำคัญที่เดียว
4. สร้าง Instagram เพื่อลงรูปสินค้า หรือ โพสข้อความเกี่ยวกับธุรกิจ
5. สร้าง Youtube หรือ Google+ อัพโหลดวีดีโอ เรื่องราวเกี่ยวกับสินค้า หรือ ธุรกิจของเรา

ผมตั้งคำถามแบบนี้ครับ ทำไม ทำไม ทำไม (เราต้องเสียตังค์) กับโฆษณาแบบนี้
เวลาไม่ค่อยมี (แต่มีเวลา อัพ Facebook ทุกวัน)ข้อมูลไม่พร้อม (เห็นเขียนเรื่องราวต่าง ๆ หรือ หาคำคมต่าง ๆ มาโพสอยู่ประจำ)ไม่เข้าใจวิธีทำ (สรุป ว่า ยาก ไม่อยากศึกษา)ไม่เข้าใจผลลัพธ์ (โพส มา หลายรอบแล้ว ไม่เห็นผลอะไรเด่นชัดเลย)ไม่รู้จะโพสอะไร แล้ว สื่อถึงอะไร (Like and Share) ง่ายสุด มีอะไร ก็แชร์ ตามนั้น (รอคนมากดไลท์)ทำไป ก็สู้เวปคนอื่นไม่ได้ (เวปเราธรรมดา แต่เวปคู่แข่งสุดอลังการณ์)
ผมตั้งเป้าแบบนี้ครับ ที่จะไม่ให้เสียตังค์ (ถ้าไม่จำเป็น)ผมเริ่มสร้างเวป สำเร็จตั้งแต่ Market at home (ขณะนี้ ถูก Weloveshopping by TRUE) Take Over ไปเรียบร้อยแล้วครับ ผมมีเวป เมื่อ 14 ปีก่อน (ด้วยความเข้าใจว่า) เราไม่มีปัญญา จะไปเช่าหน้าร้าน บนห้างฯ ดัง ได้ (การขายสินค้าจึงเกิดจาก ความไม่เชื่อถือของเวปไซต์) ในอดีต (ผลลัพธ์ ที่ผมได้คือ มีคนเข้ามาถาม เข้ามาคุย ในเวปบอร์ด นั่นคือ ความสำเร็จก้าวแรก)

ปัจจุบัน มีเวปสำเร็จรูป หลายค่าย เช่น
Weloveshopping
Get Ready
Makewebeasy
iTopplus
iGetwebReady
WebThaiwebplus

ขณะนี้ จะมีรูปแบบคล้าย ๆ กัน โดยนำ Code หรือ เวปสำเร็จรูปแบบ Drag and Drop (ง่ายนิดเดียว) ใครๆ ก็ทำได้ (แค่อ่าน และ ลงมือทำ)

คำถาม รูปแบบเวปเหมือนกับร้านอื่นอ่ะ (ทำงัย)โครงสร้างคล้ายกัน แตกต่างแค่สินค้า (แบบนี้ ไม่ใช่ Business Model by FUR) ครับ

ผมมีข้อมูลไม่มาก ก่อนจะเริ่มทำเวปไซต์ ผมหาข้อมูลที่จากหลาย ๆ ที่ แล้วสรุป ก่อนจะอัพโหลดขึ้นเวป (ในครั้งแรก เราอ่านเองยังงงๆ อยู่) ค่อยๆ ปรับแก้ครับ (ความสำเร็จไม่ได้อยู่เพียงชั่วข้ามคืน) วิธีที่ถูกที่สุด หรือ ผมว่าดีที่สุด (ให้คนท่องเวป เป็นคนวิจารณ์ ทั้งรูปแบบ และตัวหนังสือ)

ผมไม่เข้าใจวิธีทำเวป ตั้งแต่เบื้องต้น ทำไปทำไม ทำแล้วได้อะไร คนมาซื้อจะ จะกล้าซื้อไหม เราเป็นใคร มาจากไหน แล้วเราจะทำอะไร (การซื้อขายบนเวป สมัยก่อน แทบไม่มี เต็มที่เราแค่ประชาสัมพันธ์) แต่ปัจจุบัน เราสามารถ สั่งซื้อ ออนไลน์ ดูรายละเอียด เปรียบเทียบ ราคากันได้ชัดเจน ลูกค้า คือผู้ตัดสินใจ

ผมได้ศึกษาและเริ่มฝากเวปฟรี ต่าง ๆ นา ๆ (เป็นเวลาระยะหนึ่ง) เข้าใจ ตั้งแต่ คนส่วนใหญ่ไม่สนใจ เมื่อ 5-6 ปี หลัง การทำตลาด ออนไลน์ Boom ชนิดว่า เอาอะไรมาขายก็ได้ตั้ง (ทำให้ผมเชื่อว่า สิ่งที่เราดำเนินการมาแต่ต้น เริ่มเห็นผล นั่นหมายถึง ผมใช้เวลาอยู่กับมันไม่น้อยกว่า 6 ปี(Business Model ผมก็เชื่อว่า การสัมพันธ์ กับ ลูกค้า หรือ ข้อมูล ตั้งแต่ต้น ทำให้เราได้มุมมอง และสร้าง ร้านค้าได้รวดเร็วกว่า)

ผมได้ผลลัพธ์ จากการสร้าง เวป FanPage มามากพอ ที่เรียกว่า Serch Engine ผมติดหน้าแรกๆ (โดยไม่เสียตังค์สักบาท) เรื่องนี้ จะนำมาเล่าต่อในเชิงลึก ต่อไป

ผมสร้าง แบรนด์ ให้กับบริษัทฯ โดยไม่รู้ตัว กับสิ่งที่ผมโพสทุกวัน (บางคนอาจจะมั่นไส้ ว่า จะโชว์ไปถึงไหน) คำถาม และ คำตอบ เหล่านี้ ผมรับได้ตั้งแต่เริ่มต้นทำแล้วครับ เช่น โชว์เก๋า โชว์กึ๋น อวดรู้ รู้แล้วว่าเก่ง รู้แล้วว่าทำได้ (เอาเรื่องอื่นมาคุยบ้างก็ได้ มีแต่เรื่องงาน) ผมบอกตั้งแต่ต้นแล้วว่า จะหวังผลอะไร กับ การทำ Social Media

ผมไม่เคยไม่รู้ ว่าผมจะโพสอะไร (ผมรู้ตัวเองมาตลอด ว่าผมจะโพส สื่ออะไร) อาจจะไปกระทบกับหลายฝ่าย แต่ผม ก็ยังคงทำมันอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลลัพธ์ ทางด้าน KeyWord (เรามาคุยเรื่อง KeyWord) บางค่าย บอกให้โพสเยอะๆ ถึงจะได้ผล บางค่ายบอกเน้น ๆ นะ มีประสิทธิภาพมากกว่า (ยิ่งมากยิ่งเสียเยอะ) เรื่อง KeyWord ผมอธิบายยาก แต่รอผมจะคุยผ่าน รูปแบบ วีดีโอ อีกครั้ง

เมื่อมีคู่แข่งขั้น ทางเวปไซต์เยอะ ข้อมูล จึงต้องมีความชัดเจน เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เร็วและไวกว่า
Business Model กับ Website
1. ผมจะให้ความสำคัญ เนื้อหา และ ข้อมลูข้อเท็จจริง ทั้งหมด เกี่ยวกับธุรกิจ
2. ผมจะสร้างธุรกิจจากแผน (Business Plan) และ ผมจะไม่สร้างธุรกิจ จากการพูดคุยหรือเขาเล่าว่า (ถ้าไม่ได้ลงมือทำ)
3. ผมจะสร้างธุรกิจจาก กลุ่มเป้าหมาย (เฉพาะเจาะจง) ถึงแม้ว่าบางครั้งจะไม่มีคนสนใจ
4. ผมจะสร้างธุรกิจ ที่เรียกว่า เทรนใหม่ ๆ (เพื่อให้รู้ว่า วิวัฒนาการ เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร)
5. ผมจะสร้างธุรกิจ ด้วย ความสัมพันธ์ ที่ดีและลึกซึ้ง ได้มาตรฐาน6. ผมจะสร้างธุรกิจ จากความจริงใจ

การทำ โฆษณา อาจะพาคุณ “สู่ความสำเร็จ” เร็ว
การทำ โฆษณา จะต้องมีช่วงเวลาที่ดี (Prime Time)

FUR ฝากก่อนทำ โฆษณาเสียตังค์
1. เตรียมความพร้อมเรื่องสินค้า (ถ้าโฆษณาแล้ว สินค้าต้องเพียงพอ)
2. เตรียมพร้อมเรื่อง Stock
3. เตรียมพร้อมเรื่อง Logistic
4. เตรียมพร้อมกับความเหน็ดเหนื่อย

5. อย่า ลืม เตรียมพร้อมกับความสำเร็จ

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy