ทำไม ผมไม่เชื่อตั้งแต่แรก จนกว่าจะเห็นผลงาน

Last updated: 2 Oct 2017  |  2397 Views  | 

ทำไม ผมไม่เชื่อตั้งแต่แรก จนกว่าจะเห็นผลงาน

ผมได้พูดคุยกับเพื่อนๆ ในวงเหล้าเล็ก ๆ และจะอัพเดทว่า 

เป็นงัยบ้าง 

ตอนนี้ทำอะไรอยู่

เพื่อนแต่ละคนก็แย่งกันเล่า อาจจะเป็นเพราะพิษแอลกอฮอร์ เข้าสู่ร่างกาย (เลยทำให้พูดเยอะกว่าที่เป็นปกติ)

เพื่อนคนนึง เล่าว่า จะลาออกจากงานประจำ ไปเป็นชาวไร่ (เพื่อปลูกผลไม้ ที่อาจจะหาได้น้อยในพื้นที่ประเทศไทย) นั่นคือ เมล่อน

ผมไม่เชื่อแต่แรกว่าเขาจะไปทำอย่างนั้นได้ ก็เลยแซวต่อว่า ขายอย่างไร (เนื่องด้วยเขาอ่านหนังสือมา ถามคนที่มีประสบการณ์ เลยตอบว่า ขายเป็นกิโล) แบบนี้ก็รวยสุด ๆ อะดิ เพราะว่าเถานึง ออกลูกเพียบ คำตอบในตอนนั้น คือ เอาแค่เถาละลูก ที่เหลือตัดทิ้ง หรือ ไม่ก็ไปขายทำแกงส้ม เมล่อน (หากินไม่ได้ในร้านอาหารทั่วไป) ผมถึงกับอิ้ง

ผมเคยไปฟัง วิทยากร ท่านนึง เล่าให้ฟังว่า ผลไม้คัด (คัดสรร) ลูกที่ดีและสมบูรณ์ที่สุด จะเป็นผลไม้ที่ขายได้ราคาที่สุด เมื่อเทียบกับลูกที่บูด ๆ เบี้ยว หรือ ไม่สมบูรณ์

ยกตัวอย่าง (เมื่อนำมาพิสูจน์) การวางผลไม้บน เช้ล ติดกัน (ราคาต่างกัน ครึ่ง ๆ ) ปรากฏว่า ผลไม้ผลดี สามารถขายได้หมดเกลี้ยง ทั้ง ๆ ที่ลูกพิการ ยังอยู่เต็มเช้ล 

คำถาม ผลไม้บูด เบี้ยว ไม่สมบูรณ์ แม้กระทั่งลดราคาก็ไม่สามารถขายได้
คำตอบ คนส่วนใหญ่ มักมองรูปลักษณ์ภายนอก 

เวลาผ่านไป ก็มีการคิดค้น เพื่อแปรรูป เปลี่ยนสภาพ 
ผลไม้ดังกล่าวข้างต้น ผ่านขบวนการ แปรรูปผลไม้ นำผลไม้ไปคั้นเป็นน้ำ แล้วบรรจุขวดขาย

ปรากฎว่า ผลไม้ บูด เบี้ยว ไม่สมบูรณ์ กับราคาต่างกันแค่ 1 บาท (สามารถขายได้หมดเร็วกว่าผลไม้ผลดี)

การแปรรูป คือ จุดเปลี่ยน ของผลส้มพิการทับซ้อน

วันนี้ ผมแค่อยากบอกว่า (เริ่มแรก เราไม่รู้อะไรเลย) แล้วเราก็ลงมือทำ แบบนี้ผมเรียกว่า Learning by Doing เรียนไปด้วยทำไปด้วย

Business Model จะเกิดขึ้นตอนไหน หรือ เมื่อไหร่ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบตั้งแต่แรก ค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป และ แปรเปลี่ยนสภาพ เมื่อคิดว่าถึง จุดเปลี่ยน

ผมกำลังเล่าเรื่องใหม่ ๆ ที่ยังไม่ค่อยมีใครทำ หรือ มีทำก็น้อย เพื่อขบวนการ ที่ผมเรียกมันว่า “กลับหัวคิด ธุรกิจเปลี่ยน”

หลายต่อหลายครั้งที่เกิดสภาวะ “จุดเสี่ยง” ชนิดแบบ 50:50 (พอมาถึงทางแยกแบบนี้แล้ว เราควรจะไปต่อ หรือ ควรจะหยุด) ภาวะผู้นำ และ การติดสินใจ จึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง และ ทัศนคติ มุมมอง จะเป็นแรงช่วยผลักดัน 

ผมกำลังจะบอกว่า มันไม่มีถูกหรือผิด เราควรจะประเมินความเสี่ยงของเราระดับไหน มากกว่า เราทำได้วันนี้ วันข้างหน้า อาจจะไม่เหมือนเมื่อวันวาน จึงต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาวะปัจจุบัน

อุปสรรคไม่ใช่...ร่องรอย ของความล้มเหลว  
แต่..เป็นริ้วรอยแห่งความสำเร็จ...

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy